วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

QR Code คือ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

QR Code คือ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องอ่านบาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Scanner บริษัทขายส่ง เครื่องอ่านบาร์โค้ด และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร  

alt

ปัจจุบัน เรามักเห็นสัญลักษณ์เส้นสีดำหักมุมแลดูยึกยือในกรอบสี่เหลี่ยมพื้นสีขาวคล้ายกับเกมหาทางออก ปรากฎอยู่ในโฆษณาสินค้าในสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ป้ายโฆษณา และนามบัตร สัญลักษณ์นี้เรียกว่า คิวอาร์โค้ด ซึ่งซ่อนความหมาย และรายละเอียดที่ต้องการแสดงเอาไว้ ผู้ประกอบการบางรายก็จะทำลิงก์ไว้ภายในคิวอาร์โค้ดเพื่อให้เข้าเว็บไซต์ของบริษัทได้ทันที คิวอาร์โค้ด (QR Code : Quick Response) เรียกว่าบาร์โค้ด 2 มิติ คือ รหัสชนิดหนึ่งซึ่งสามารถเก็บข้อมูลสินค้า เช่น ชื่อ ราคาสินค้า เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ และชื่อเว็บไซต์ เป็นการพัฒนามาจาก บาร์โค้ด โดยบริษัทเดนโซ-เวฟ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของโตโยต้า ประเทศญี่ปุ่น คิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1994 และได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ชื่อ "QR Code" แล้วทั้งในญี่ปุ่น และทั่วโลก ผู้คิดค้นที่พัฒนาคิวอาร์โค้ดมุ่งเน้นให้สามารถถูกอ่านได้อย่างรวดเร็ว โดยการอ่านคิวอาร์โค้ด นิยมใช้กับโทรศัพท์มือถือ รุ่นที่มีกล้องถ่ายภาพ และสามารถติดตั้งซอฟแวร์ เพิ่มเติมได้   วิธีใช้งานคิวอาร์โค้ด ต้องใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือที่มีสัญลักษณ์คิวอาร์โค้ดอยู่ภายในตัวเครื่อง เพียงนำกล้องที่อยู่บนมือถือแสกนบนคิวอาร์โค้ด รอสักครู่ เครื่องจะอ่านคิวอาร์โค้ดสีดำออกมาเป็นตัวหนังสือที่มีข้อมูลมากมาย เช่นรายละเอียดสินค้า โปรโมชัน สถานที่ตั้งของบริษัท ร้านค้า เว็บไซต์ เบอร์โทรศัพท์ หากอยู่บนนามบัตร เจ้าของนามบัตรก็จะใส่ทั้งชื่อ อีเมล์ ฯลฯ รวมทั้งสามารถใช้คิวอาร์โค้ดสื่อบอกความในใจได้ด้วย เพียงพิมพ์คิวอาร์โค้ดลงบนการ์ด ผู้ที่ได้รับการ์ดนำโทรศัพท์มือถือที่มีกล้องมาสแกน เพียงเท่านี้ก็รู้ความในใจ ด้วยไอทีแล้ว ที่มา : ดวงกมล นาคะวัจนะ , 2554, QR Code, วารสารประกาย ปีที่ 8 ฉบับที่ 85 , หน้า 36
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องอ่านบาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Scanner บริษัทขายส่ง เครื่องอ่านบาร์โค้ด และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร QR Code คือ

เครื่องอ่าน บาร์โค้ด แต่ละประเภท เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

เครื่องอ่าน บาร์โค้ด แต่ละประเภท เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องอ่านบาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Scanner บริษัทขายส่ง เครื่องอ่านบาร์โค้ด และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร  

ความหมายและประเภทของ Barcode Scanner(Reader)

Barcode Scanner คืออะไร? Barcode Scanner หรือ เครื่องอ่านบาร์โค๊ด คือ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลที่อยู่ในแท่งบาร์โค้ด แล้วแปลงให้เป็นข้อมูลที่สามารถเข้าใจได้โดยคอมพิวเตอร์ หน้าที่ของเครื่องอ่านบาร์โค้ด 1. หา Elements ที่ถูกต้องของ Bar และ Space 2. กำหนดส่วนกว้างของแต่ละ Bar และ Space 3. จัดกลุ่มของบาร์โค้ดที่อ่านเข้ามา 4. นำ Element Widths เปรียบเทียบกับรูปแบบตารางบาร์โค้ด 5. ตรวจสอบ Start/Stop Characters เวลาที่มีการอ่านกลับทิศทาง 6. ยืนยัน Quiet Zone ทั้งสองข้างของบาร์โค้ด 7. ยืนยันความถูกต้องของ Check Characters หลักการทำงานของเครื่องอ่านบาร์โค๊ด 1. เครื่องอ่าน (Reader) ฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค๊ด 2. รับแสงที่สะท้อนกลับมาจากตัวบาร์โค๊ด 3. เปลี่ยนปริมาณแสงที่สะท้อนกลับมาให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า 4. เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นข้อมูลที่นำไปใช้งานได 1. เครื่องอ่าน (Reader) ฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค้ด หรือ แหล่งกำเนิดแสง (Light Source) ภายในเครื่องอ่านบาร์โค้ดจะฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค้ด และกวาดแสงอ่านผ่านแท่งบาร์ 2. รับแสงที่สะท้อนกลับมาจากตัวบาร์โค๊ด ฉายการอ่านบาร์โค้ดจะใช้หลักการสะท้อนแสงกลับมาที่ตัวรับแสง 3. เปลี่ยนปริมาณแสงที่สะท้อนกลับมาให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ภายในเครื่องอ่านบาร์โค้ดจะมีอุปกรณ์เปลี่ยนปริมาณแสง ที่สะท้อนกลับมาให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า 4. เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นข้อมูลที่นำไปใช้งานได้ สัญญาณไฟฟ้าจะไปเปรียบเทียบกับตารางบาร์โค้ดที่ ตัวถอดรหัส (Decoder) และเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานได้ สรุปหลักการทำงานของเครื่องอ่านบาร์โค้ด เครื่องอ่านบาร์โค้ดจะฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค้ด แล้วรับแสงที่สะท้อนกลับจากแท่งบาร์โค้ด ซึ่ง Space จะสะท้อนแสงได้ดีกว่าแท่งBar จากนั้นปริมาณแสงสะท้อนจะถูกเปลี่ยนไปเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า แล้วถูกส่งต่อไปยังตัวถอดรหัส (Decoder) และแปลงให้เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานได้ ประเภทของเครื่องอ่านบาร์โค้ด

เครื่องอ่านบาร์โค้ด จำแนกออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือ เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบสัมผัส และ เครื่องอ่านบาร์โค้ด ไม่สัมผัส และยังสามารถแยกประเภทตามลักษณะการเคลื่อนย้ายได้ โดยแบ่งกลุ่มเป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable) และ เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบยึดติดกับที่(Fixed Positioning Scanners)

เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable) เครื่องอ่านบาร์โค้ด ประเภทนี้ ส่วนมากจะมีหน่วยความจำในตัวเอง เพื่อเก็บข้อมูลที่อ่านหรือบันทึกด้วยปุ่มกดสามารถนำอุปกรณ์ไปใช้ได้ง่ายโดยสามารถพกพาได้ การอ่านรหัสแต่ละครั้งจะนำเอาเครื่องอ่านเข้าไปยังตำแหน่งที่สินค้าอยู่ ส่วนมากเครื่องอ่านลักษณะนี้จะมีน้ำหนักเบา ส่วนแบบที่ไม่มีหน่วยความจำในตัวเองจะทำงานแบบไร้สายเหมือนโทรศัพท์ไร้สายที่ใช้ภายในบ้านซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องระยะทาง

เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบยึดติดกับที่ (Fixed Positioning Scanners) เครื่องอ่านบาร์โค้ด ประเภทนี้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ส่วนมากจะติดตั้งกับด้านข้าง หรือตำแหน่งใดๆ ที่เหมาะสมในแนวทางวิ่งของสายพานลำเลียง เพื่ออ่านรหัสที่ติดกับบรรจุภัณฑ์และเคลื่อนที่ผ่านไปตามระบบสายพานลำเลียง บางครั้งเครื่องอ่านประเภทนี้จะติดตั้งภายในอุปกรณ์ของระบบสายพานลำเลียงเพื่อให้สามารถอ่านได้โดยอัตโนมัติ อีกรูปแบบที่เราเห็นกันมาก จะฝังอยู่ที่โต๊ะแคชเชียร์ ตามห้างสรรพสินค้า โดยแคชเชียร์จะนำสินค้าด้านที่มีบาร์โค้ดมาจ่อหนาเครื่องอ่านที่ถูกฝังไว้กับโต๊ะ หรือตั้งไว้ด้านข้าง เครื่องอ่านจะทำการอ่านบาร์โค้ดโดยอัตโนมัติ เมื่อมีวัตถุเคลื่อนไหวอยู่ข้างหน้าตัวเครื่อง

เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบสัมผัส (Contact Scanners) เครื่องอ่านบาร์โค้ดประเภทนี้ เป็นอุปกรณ์ที่เวลาอ่าน ต้องสัมผัสกับผิวหน้าของรหัสแท่ง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
  • เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบปากกา (Pen Scanner) หรือแวนด์ (Wand) เป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่มีลักษณะเหมือนหัวปากกา โดยมีปลายปากกาเป็นอุปกรณ์สำหรับผลิตลำแสงเพื่ออ่านข้อมูล น้ำหนักเบา พกพาสะดวก มีข้อจำกัดเรื่องคุณภาพฉลากต้องดีมาก เพราะหัวอ่านที่สัมผัสบนรหัสแท่งอาจจะทำให้รหัสลบหรือเสียหายได้ เหมาะสำหรับอ่านบาร์โค้ดบนเอกสารหรือคูปอง
  • เครื่องอ่านบัตร (Slot Scanner)เป็น เครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่ใช้อ่านรหัสแท่งจากบัตรหรือวัสดุอื่น โดยต้องรูดบัตรที่มีบาร์โค้ดนั้นลงในช่องเพื่ออ่านข้อมูล เหมาะสำหรับรูดบัตรที่มีบาร์โค้ด อ่านรหัสบาร์โค้ดจากบัตรประจำตัว เพื่อบันทึกเวลาหรือดูข้อมูลต่างๆ ด้วยตัวเจ้าของบัตรเอง

เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไม่สัมผัส (Non Contact Scanner) เป็น เครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่มีหลายรูปแบบจากแบบง่ายๆ ที่ลักษณะคล้ายปีนที่เห็นตามร้านค้าปลีก จนถึงระบบแบบ Pocket PC สามารถอ่านโดยห่างจากรหัสแท่งได้ ทำให้ทำงานได้รวดเร็ว ง่ายและสะดวก โดยแบ่งเป็นหลายชนิดดังนี้

  • เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบ CCD (Charge Coupled Device Scanner) เครื่องอ่านบาร์โค้ด ประเภทนี้ เป็นเครื่องอ่านราคาถูก การทำงานจะอาศัยการสะท้อนของแสงจากรหัสแท่งและช่องว่างแล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณวีดีโอ เครื่องอ่านแบบนี้ในขณะอ่านจะไม่มีการเคลื่อนที่ชิ้นส่วน ความแม่นยำจะสูงกว่าแบบเลเซอร์ ใช้พลังงานน้อย อายุการใช้งานของอุปกรณ์ในการสร้างลำแสง (LED) จะยาวนานกว่า เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบนี้ยังเป็นแบบตัดวงจรไฟอัตโนมัติในกรณีที่ไม่มีการใช้งาน
  • เครื่องอ่านบาร์โคดแบบ Linear Imaging เครื่องอ่านบาร์โค้ด ประเภทนี้ เป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่ใช้หลักการอ่านโดยวิธีจับภาพโดยเลนซ์รับภาพเช่นเดียวกับกล้องถ่ายรูป ทำให้ระบบหัวอ่านมีความสามารถในการอ่านในเชิงเรขาคณิตสูงกว่าเครื่องอ่านแบบ CCD สามารถอ่านบาร์โค้ดขนาดเล็กมากๆได้ เนื่องจากใช้การอ่านด้วยตัวเลนซ์รับภาพทำให้จับภาพได้ระยะไกลขึ้น อ่านได้เร็วถึง 100-450 scan ต่อวินาที ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบ Linear Imaging มีความสามารถในการอ่านและความเร็วในการอ่านเหนือว่าการอ่านแบบ CCD แต่มีความทนทานเหมือนกัน และอ่านในระยะไกลได้เทียบเท่ามาตรฐานของเครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเลเซอร์
  • เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ ( Laser Scanner) เครื่องอ่านบาร์โค้ด ชนิดนี้มีวิธีการทำงาน คือเมื่อกดปุ่มอ่านรหัสจะเกิดลำแสงเลเซอร์ซึ่งมีกระจกเงาเคลื่อนที่มารับแสงแล้วสะท้อนไปตกกระทบกับรหัส และผ่านเป็นแนวเส้นตรงเพียงครั้งเดียว ลำแสงที่ยิงออกมาจะมีขนาดเล็กด้วยความถี่เดียว ไม่กระจายออกไปนอกเขตที่ต้องการทำให้สามารถอ่านรหัสที่มีขนาดเล็กได้ดี
สามารถแบ่งเครื่องอ่านเลเซอร์ตามประเภทของการอ่านได้ดังนี้
  • เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเลเซอร์ชนิดเส้นเดี่ยว ( Single Line laser Scanner)
  • เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเลเซอร์ชนิดหลายเส้น ( Multiple Line Laser Scanner)
เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายเส้น (Raster) เหมาะสำหรับการอ่านบาร์โค้ดแบบติดตั้งอยู่กับที่โดยอ่านบาร์โค้ดที่กล่องซึ่งมีตำแหน่งบาร์โค้ดไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน โดยทั่วไปเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบนี้จะมี เส้นเลเซอร์ตั้งแต่ 2-10 เส้น เป็นแสงเลเซอร์ในแนวขนานกัน เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายเส้นหลายทิศทาง(Omni-Direction) เป็นแสงเลเซอร์ มากกว่า 10 เส้นอยู่ในแนวขนานและตัดกันไปมาเหมือนตาข่ายทำให้สามารถอ่านบาร์โค้ดได้หลายทิศทาง
  • เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ชนิดโฮโลแกรม
   
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องอ่านบาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Scanner บริษัทขายส่ง เครื่องอ่านบาร์โค้ด และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร เครื่องอ่าน บาร์โค้ด แต่ละประเภท

บาร์โค้ด คือ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

บาร์โค้ด คือ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร   บาร์โค้ด (Barcode) หรือ รหัสแท่ง หมายถึง สัญลักษณ์ (Symbol) ที่อยู่ในรูปของแท่ง โดยจะใช้เครื่องอ่าน ที่เรียนว่า Scanner (เครื่องยิงบาร์โค้ด) เป็นตัวอ่านข้อมูล ที่อยู่ในรูปของ รหัสแท่ง เป็นข้อมูล ที่เป็นตัวเลข หรือ ตัวอักษร ที่มนุษย์สามารถเข้าใจ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งาน หรืออีกความหมายนึง บาร์โค้ด (barcode) คือ เป็นหนึ่งในหลายวิธีที่ได้ผลดี ในการตรวจสอบสินค้าขณะขาย, การตรวจสอบยอดการขาย และสินค้าคงคลัง เราสามารถที่จะอ่านรหัสบาร์โค้ดได้ โดยใช้สแกนเนอร์หรือเครื่องอ่านบาร์โค้ด ซึ่งวิธีนี้จะรวดเร็วกว่าการป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์หรือการอ่านด้วยสายตา บางครั้งเราจะเห็นเครื่องเหล่านี้ในสถานที่ต่างๆ ซึ่งบางที่เราก็อาจจะคาดไม่ถึง ว่าจะนำไปใช้ได้ ประเภทของบาร์โค้ด (Barcode) 1. โค้ดภายใน (Internal Code) เป็นบาร์โค้ดที่ทำขึ้นใช้เองในองค์กรต่าง ๆ ไม่สามารถนำออกไปใช้ภายนอกได้ 2. โค้ดมาตรฐานสากล (Standard Code) ที่เป็นที่รู้จัก และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก มี 2 ระบบ คือ
  • 2.1 ระบบ EAN (European Article Numbering) เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีประเทศต่าง ๆ ใช้มากกว่า 90 ประเทศทั่วโลกในภาคพื้นยุโรป เอเชียและแปซิฟิก,ออสเตรเลีย,ลาติน อเมริกา รวมทั้งประเทศไทย
  • 2.2 ระบบ UPC (Universal Product Code) เริ่มช้เมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยมีการใช้แพร่หลาย
ประโยชน์ของการติดบาร์โค้ดมาตรฐานสากลกับตัวสินค้า การนำบาร์โค้ดมาตรฐานสากลมาใช้ในธุรกิจการค้า จะมีคุณประโยชน์หลายประการ คือ
  • 1. ลดขั้นตอน และประหยัดเวลาการทำงาน การซื้อขายสินค้า จะมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะการรับชำระเงิน การออกใบเสร็จ การตัดสินค้าคงคลัง
  • 2. ง่ายต่อระบบสินค้าคงคลัง คอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมกับเครื่องสแกนเนอร์ จะตัดยอดสินค้าโดยอัตโนมัติ จึงสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการหมุนเวียนสินค้า สินค้ารายการใดจำหน่ายได้ดีหรือไม่ มีสินค้าเหลือเท่าใด
  • 3. ยกระดับมาตรฐานสินค้า การระบุบาร์โค้ดแสดงข้อมูลสินค้าของผู้ผลิตแต่ละราย ทำให้ผู้ผลิต คำนึงถึงการปรับปรุงคุณภาพ สินค้าเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของสินค้า และสอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่องการแสดงข้อมูลสินค้า
  • 4. สร้างศักยภาพเชิงแข่งขันในตลาดต่างประเทศ บาร์โค้ดมาตรฐานสากลเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงสินค้าที่เชื่อถือได้ การมีเลขหมายประจำตัวสินค้า ทำให้ผู้สนใจสามารถทราบถึงแหล่งผู้ผลิต และติดต่อซื้อขายกันได้สะดวกโดยตรง รวมถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการส่งออก
ตัวอย่างบาร์โค้ตที่ออกแบบอย่างง่าย (Simple Design barcode) wertwertdfgdfgs บาร์โค้ด (Barcode) หรือ รหัสแท่ง คืออะไร  
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร บาร์โค้ด คือ

บาร์โค้ด หมายถึง เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

บาร์โค้ด หมายถึง เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร   บาร์โค้ด (Barcode) หรือ รหัสแท่ง หมายถึง สัญลักษณ์ (Symbol) ที่อยู่ในรูปของแท่ง โดยจะใช้เครื่องอ่าน ที่เรียนว่า Scanner (เครื่องยิงบาร์โค้ด) เป็นตัวอ่านข้อมูล ที่อยู่ในรูปของ รหัสแท่ง เป็นข้อมูล ที่เป็นตัวเลข หรือ ตัวอักษร ที่มนุษย์สามารถเข้าใจ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งาน หรืออีกความหมายนึง บาร์โค้ด (barcode) คือ เป็นหนึ่งในหลายวิธีที่ได้ผลดี ในการตรวจสอบสินค้าขณะขาย, การตรวจสอบยอดการขาย และสินค้าคงคลัง เราสามารถที่จะอ่านรหัสบาร์โค้ดได้ โดยใช้สแกนเนอร์หรือเครื่องอ่านบาร์โค้ด ซึ่งวิธีนี้จะรวดเร็วกว่าการป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์หรือการอ่านด้วยสายตา บางครั้งเราจะเห็นเครื่องเหล่านี้ในสถานที่ต่างๆ ซึ่งบางที่เราก็อาจจะคาดไม่ถึง ว่าจะนำไปใช้ได้ ประเภทของบาร์โค้ด (Barcode) 1. โค้ดภายใน (Internal Code) เป็นบาร์โค้ดที่ทำขึ้นใช้เองในองค์กรต่าง ๆ ไม่สามารถนำออกไปใช้ภายนอกได้ 2. โค้ดมาตรฐานสากล (Standard Code) ที่เป็นที่รู้จัก และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก มี 2 ระบบ คือ
  • 2.1 ระบบ EAN (European Article Numbering) เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีประเทศต่าง ๆ ใช้มากกว่า 90 ประเทศทั่วโลกในภาคพื้นยุโรป เอเชียและแปซิฟิก,ออสเตรเลีย,ลาติน อเมริกา รวมทั้งประเทศไทย
  • 2.2 ระบบ UPC (Universal Product Code) เริ่มช้เมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยมีการใช้แพร่หลาย
ประโยชน์ของการติดบาร์โค้ดมาตรฐานสากลกับตัวสินค้า การนำบาร์โค้ดมาตรฐานสากลมาใช้ในธุรกิจการค้า จะมีคุณประโยชน์หลายประการ คือ
  • 1. ลดขั้นตอน และประหยัดเวลาการทำงาน การซื้อขายสินค้า จะมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะการรับชำระเงิน การออกใบเสร็จ การตัดสินค้าคงคลัง
  • 2. ง่ายต่อระบบสินค้าคงคลัง คอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมกับเครื่องสแกนเนอร์ จะตัดยอดสินค้าโดยอัตโนมัติ จึงสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการหมุนเวียนสินค้า สินค้ารายการใดจำหน่ายได้ดีหรือไม่ มีสินค้าเหลือเท่าใด
  • 3. ยกระดับมาตรฐานสินค้า การระบุบาร์โค้ดแสดงข้อมูลสินค้าของผู้ผลิตแต่ละราย ทำให้ผู้ผลิต คำนึงถึงการปรับปรุงคุณภาพ สินค้าเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของสินค้า และสอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่องการแสดงข้อมูลสินค้า
  • 4. สร้างศักยภาพเชิงแข่งขันในตลาดต่างประเทศ บาร์โค้ดมาตรฐานสากลเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงสินค้าที่เชื่อถือได้ การมีเลขหมายประจำตัวสินค้า ทำให้ผู้สนใจสามารถทราบถึงแหล่งผู้ผลิต และติดต่อซื้อขายกันได้สะดวกโดยตรง รวมถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการส่งออก
ตัวอย่างบาร์โค้ตที่ออกแบบอย่างง่าย (Simple Design barcode) wertwertdfgdfgs บาร์โค้ด (Barcode) หรือ รหัสแท่ง คืออะไร  
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร บาร์โค้ด หมายถึง

การนำเทคโนโลยีบาร์โค้ด 2 มิติมาใช้งาน เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

การนำเทคโนโลยีบาร์โค้ด 2 มิติมาใช้งาน เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร   การนำเทคโนโลยีบาร์โค้ด 2 มิติมาใช้งาน ตัวอย่างการใช้งานบาร์โค้ดแบบ QR Code - ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ มีการติดบาร์โค้ดบนชิ้นส่วนอะไหล่ยนต์ต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลของอะไหล่ชิ้นนั้น เช่น ชื่อรุ่น รหัสอะไหล่ และประเภท ของอะไหล่ เป็นต้น - ด้านกระบวนการผลิตสินค้ามีการติดบาร์โค้ด 2 มิติบนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (รูปที่ 8) เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ของแผงวงจรนั้น  
  - ด้านการขนส่งสินค้า มีการพิม์บาร์โค้ดบนใบส่งสินค้า (รูปที่ 9) เพื่อใช้บาร์โค้ดในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการขนส่ง รหัสของสินค้า และจำนวนสินค้าเป็นต้น
- ด้านการจัดสต๊อกสินค้า (รูปที่ 10) เพื่อตรวจสอบชื่อรุ่นของสินค้า รหัสสินค้า และจำนวนของสินค้าคงเหลือ
- ด้านสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ เช่น หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์ แผ่นพับ หรือใบปริว เป็นต้น (รูปที่ 11,12) มีการนำบาร์โค้ดเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งใน สื่อโฆษณา เพื่อให้ผู้พบเห็นเกิดความสนใจในตัวสินค้า และสามารถใช้มือถือที่มีกล้องอ่านบาร์โค้ดเพื่อเชื่อมต่อลิงก์เข้าสู่เว็บไซต์ได้ มีการนำ ไปใช้ในประเทศจีน เกาหลี ไต้หวัน และญี่ปุ่น [5]
- ด้านสินค้าทั่วไปที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (รูปที่ 13) เพื่อจัดเก็บข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและผลิตภัณฑ์
- ด้านปศุสัตว์ มีการนำบาร์โค้ดมาติดลงบนสายรัดที่หางของสัตว์เลี้ยง (รูปที่ 14) เพื่อใช้บาร์โค้ดในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ของสัตว์ เช่น เพศ สายพันธุ์ และอายุ เป็นต้น  
  - ด้านการแพทย์ มีการนำบาร์โค้ดมาพิมพ์ลงบนสายรัดข้อมือผู้ป่วย (รูปที่ 15) เพื่อใช้ในการเก็บประวัติข้อมูลต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น ชื่อ ที่อยู่ อาการป่วย โรคประจำตัว และชนิดของยาที่แพ้ เป็นต้น และการนำบาร์โค้ดมาติดลงบนหลอดทดลองที่ใช้ในการทดสอบเลือด (รูปที่ 16)

- การนำบาร์โค้ดมาพิมพ์ลงบนนามบัตร (รูปที่ 17,18) เพื่อนำบาร์โค้ดมาใช้ในการบันทึกข้อมูลติดต่อลงมือถือโดยตรง มีการนำไปใช้ในประเทศ ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา [6]  
  - การนำบาร์โค้ดมาพิมพ์ลงบนบัตรเครดิต (รูปที่ 19) เพื่อจัดเก็บรหัสบัตรเครดิต รหัสผ่าน และ เว็บไซต์ผู้ให้บริการบัตรเครดิต [7]
- การนำมาใช้ในบัตรผ่านทางในประเทศเกาหลี ตัวอย่างการใช้งานบาร์โค้ดแบบ Data Matrix - การ์นำบาร์โค้ดใช้ติดกับแผงวงจรที่มีขนาดพื้นที่ที่จำกัด (รูปที่ 20)
- การนำบาร์โค้ดใช้ติดชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็ก [8] เพื่อแสดงรายละเอียดของชิ้นส่วนนั้น (รูปที่ 21)  

- การนำมาใช้ในบัตรเครดิต [9] ขั้นตอนการนำไปใช้ (รูปที่ 22) โดยทำการติดต่อกับธนาคาร เพื่อขอบาร์โค้ดมาใช้แทนบัตรเครดิต วิธีการใช้ คือ เมื่อต้องการซื้อสินค้าก็นำบาร์โค้ดไปแสกนเพื่อหักยอดเงินออกจากบัตรเครดิต และทำการพิมพ์ใบเสร็จออกมา  
  - การนำมาใช้ในการจองตั๋ว [10] ขั้นตอนการนำไปใช้ (รูปที่ 23) โดยเริ่มจากการสั่งจองทางโทรศัพท์หรือทางอินเตอร์เน็ต เมื่อทำการสั่งจอง เสร็จแล้วจะได้รับบาร์โค้ดจาก MMS สำหรับนำไปสแกนหน้างาน เพื่อทำการพิมพ์บัตiเข้าร่วมงานที่ได้ทำการจองไว้

ตัวอย่างการใช้งานบาร์โค้ดแบบ PDF417 - การนำมาใช้กับบัตรประชาชน ในประเทศบาร์เรน์ และการ์ต้า - การนำบาร์โค้ดมาพิมพ์ลงบนใบอนุญาตขับรถ (รูปที่ 24, 25, 26) เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล และประวัติต่างๆ ของผู้ขับขี่ มีการนำไปใช้ใน ประเทศแคนาดา ประเทศในโซนอเมริกาใต้ื [11] และสหรัฐอเมริกา

- การนำบาร์โค้ดไปใช้กับบัตรประกันสังคม (รูปที่ 27) เพื่อใช้ในการเก็บประวัติข้อมูลต่างๆ เช่นการเข้าใช้บริการ และข้อมูลอื่นๆ ของผู้ถือบัตร เป็นต้น [12]  
- ด้านการขนส่งสินค้า (รูปที่ 28) เป็นการขนส่งสินค้าทางเรือ โดยนำบาร์โค้ดไปใช้ในการจัดเก็บข้อมูลของลูกค้า ข้อมูลการขนส่งสินค้า จำน จำนวนสินค้า และข้อมูลอื่นๆ เป็นต้น

Glass โปรแกรมช่วยอ่านค่าบาร์ดค้ดบนโทรศัพท์มือถือ โปรแกรม Glass เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสแกนบาร์โค้ดเพื่อทำการอ่านข้อมูลที่เก็บอยู่ในบาร์โค้ด 2 มิติแบบ QR Code และ แบบ Data Matrix โดยใช้โทรศัพท์มือถือที่จะติดตั้งนั้นต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานคือ มีกล้องดิจิตอลในตัวเครื่อง มีระบบปฏิบัติการซิมเบี้ยนซีรีย์ 60 ขึ้นไป และ สามารถใช้งาน GPS, WAP, HTTP ได้ หมายเหตุ ตัวอย่างยี่ห้อและรุ่นโทรศัพท์ทึ่สามารถรองรับการใช้งานโปรแกรมได้ - Nokia 3650, 3660, 6600, 6630, 6670, 6680, 6681, 7610, 7650 - Seimens SX1 (โทรศัพทบางเครื่องอาจจะไม่สามารถติดตั้งโปรแกรมได้ เนื่องจาก Firmware ของเครื่องนั้นอาจจะไม่สนับสนุนโปรแกรม) วิธีการติดตั้งโปรแกรม 1. เริ่มต้นโดยการดาวน์โหลดโปรแกรม Glass.sis ที่ http://activeprint.org/download.html 2. จากนั้นโอนไฟล์ Glass.sis ที่ได้มาไปยังโทรศัพท์มือถือ ซึ่งสามารถทำได้โดยอาศัย Bluetooth หรือ Card reader เป็นต้น 3. เปิดไฟล์ Glass.sis เพื่อทำการติดตั้ง โดยเริ่มต้นการติดตั้งจะปรากฏข้อความว่า "Install Glass?" เลือก YES เพื่อยืนยันการติดตั้ง  
  4. หลังจากนั้นจะปรากฏข้อความเพื่อถามว่าต้องการจัดเก็บโปรแกรมลงในหน่วยความจำของเครื่องโทรศัพท์มือถือหรือในเมโมรีการ์ด ดังรูปที่ 30
5. เมื่อทำการเลือกเสร็จแล้วจะปรากฏข้อความแสดงเงื่อนไขและข้อตกลงการใช้โปรแกรม ดังรูปที่ 31 ให้เลือก OK แล้วโปรแกรมจะเริ่มทำการ ติดตั้ง
6. หลังการติดตั้งโปรแกรมเสร็จแล้ว จะต้องทำการดาวน์โหลดคีย์เพื่อขออนุญาตใช้โปรแกรม โดยให้เลือก Yes แล้วโปรแกรมจะทำการติดต่อกับ เซิร์ฟเวอร์ ดังรูปที่ 33  
7. เมื่อทำการติดตั้งกับเซิร์ฟเวอร์และดาวน์โหลดคีย์เสร็จแล้ว จะแสดงข้อความขึ้นมาถามว่าต้องการติดตั้งคีย์ (Glass Key) หรือไม่ ให้ทำการ เลือก Yes เพื่อทำการติดตั้ง    
8. หลังจากทำการติดตั้งคีย์เสร็จแล้วจะปรากฏข้อความขึ้นว่า "Key Successfully installed. You now need to restart Glass." ให้กด OK ดังรูป ที่ 36 แล้วปิดโปรแกรม Glass ในขั้นตอนนี้โปรแกรม Galss ถูกติดตั้งอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว    
9. เริ่มการใช้งานโปรแกรม ให้เปิดโปรแกรม Glass ขึ้นมาแล้วนำกล้องบนโทรศัพท์มือถือไปสแกนที่บาร์โค้ดที่ต้องการอ่าน จับภาพให้นิ่งจนมีข้อ ความขึ้นมาว่า "Click to activate"    
10. หลังจากนั้นเลือก Option โดยที่ถ้าต้องการอ่านข้อมูลบนบาร์โค้ด ให้เลือก Code info แต่ถ้าในกรณีที่บาร์โค้ดนั้นเก็บข้อมูลเป็นชื่อเว็บไซต์ และต้องการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ดังกล่าวให้เลือก Activate หลังจากนั้นโปรแกรมก็จะทำการเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ที่เก็บไว้ในบาร์โค็ด    
สรุป ปัจจุบันนี้ได้เริ่มมีการนำบาร์โค้ด 2 มิติมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากบาร์โค็ด 2 มิติ มีคุณสมบัติเด่นแตกต่างจากบาร์โค้ดแบบ 1 มิติ ในหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการบรรจุข้อมูลมาก บาร์โค้ดที่มีขนาดเล็ก สามารถประมวลผลได้หลายประเภท และความสามารถ ในการกู้คืนข้อมูลที่เสียหายได้ การนำเทคโนโลยีบาร์โค้ดแบบ 2 มิติไปใช้งานนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะประเภทของงาน เช่น ถ้าต้องการนำบาร์โค้ด 2 มิติไปใช้กับงานที่มีพื้นที่จำกัด หรือต้องการบาร์โค้ดมีขนาดเล็ก ควรเลือกใช้บาร์โค้ดแบบ Data Matrix หรือถ้าต้องการนำไปใช้กับลักษณะงานที่ต้องการความละเอียดมากควรเลือกใช้บาร์โค้ดแบบ PDF417 เป็นต้น การนำเทคโนโลยีบาร์โค้ดแบบ 2 มิติ มาใช้ในท
วีปยุโรป อเมริกา และออสเตรเลียจะใช้บาร์โค้ดแบบ PDF417 และ Data Matrix เป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างการนำไปใช้งาน เช่น ในการจองบัตรออนไลน์ ใช้กับใบอนุญาตขับรถ และใช้ติดตามแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ส่วนทวีปเอเชียจะใช้บาร์โค้ดแบบ QR Code ซึ่งเป็นบาร์โค้ดที่ให้ผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ นำไปประยุกต์ใช้ได้หลายรูปแบบ อย่างที่เห็นได้ชัด ในด้านสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ สามารถนำไปใช้งานได้อย่างสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล และสามารถรับข้อมูลข่าวสารได้ง่ายเพียงนำกล้องบนมือถือไปอ่านที่บาร์โค้ดที่ติดอยู่บนสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ มือถือก็จะทำการเชื่อมต่อข้อมูลผ่านเครือข่าย GPRS เข้าสู่หน้าบริการที่ต้องการโดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจำชื่อเว็บไซต์ ทำให้เข้าปใช้บริการได้อย่างสะดวก   แหล่งข้อมูลอ้างอิง [1] Sizing App for 2D Barcode SymWP.indd , 02, 06; 2006.> [2] MaxiCode Symbol Barcode FAQ and Tutorial , 02, 06; 2006. [3] Data Matrix , 02, 06; 2006. [4] About QR code , 02, 06; 2006. [5] iPod nano , 02, 06; 2006. [6] i-mode Business Strategy: [7] DigiSonic , 02, 23; 2006. [8] Sequential Labels & Forms - DataMatrix ECC 200 Labels - Symbology, Inc. , 02, 23; 2006 [9] Mobile Payment , 02, 16; 2006. [10] Mobile Ticketing , 02, 16; 2006. [11] South African Drivers License Gets Facelift with PDF417 , 02, 16; 2006. [12] Card Scanning , 02, 23; 2006. [13 ] ชัยกาล พิทยาเกษม พิรัมพา เกาะลอย ณํฐพงษ์ แสงเลิศศิลปชัย และกิติศักดิ์ จิรวรรณกุล. แนะนำเทคโนโลยีบาร์โค้ด, ศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ประเทศไทยม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร การนำเทคโนโลยีบาร์โค้ด 2 มิติมาใช้งาน

การเปรียบเทียบบาร์โค้ด 2 มิติชนิดต่างๆ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

การเปรียบเทียบบาร์โค้ด 2 มิติชนิดต่างๆ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร   ตารางที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบบาร์โค้ด 2 มิติชนิดต่างๆ
บาร์โค้ด 2 มิติ PDF417 MaxiCode Data Matrix QR Code
ผู้พัฒนา (ประเทศ) Symbol Technologies (สหรัฐอเมริกา) Oniplanar (สหรัฐอเมริกา) RVSI Acuity CiMatrix DENSO
ประเภทบาร์โค้ด แบบสแต๊ก แบบเมตริกซ์ แบบเมตริกซ์ แบบเมตริกซ์
ขนาดความจุข้อมูล ตัวเลข 2, 710 138 3,116 7,089
ตัวอักษร 1,850 93 2,355 4,296
เลขฐานสอง 1,1018 - 1,556 2,953
ตัวอักษรญี่ปุ่น 554 - 778 1,817
ลักษณะที่สำคัญ - บรรจุข้อมูลได้มาก - มีความเร็วในการอ่านสูง - บาร์โค้ดมีขนาดเล็ก - บาร์โค้ดมีขนาดเล็ก - มีความเร็วในการอ่านสูง - บรรจุข้อมูลได้มาก
มาตรฐานที่ได้รับ -ISO/IEC 15438 - AIM USS-PDF417 -ISO/IEC 16023 -ANSI/AIM BC10-ISS-MaxiCode - SIO/IEC 16022 ANSI/AIM BC11-ISS-Data Maxtix - SIO/IEC 18004 - JIS X 0510 JEUDA-55 - AIM ITS/97/001 ISS-QR Code
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร การเปรียบเทียบบาร์โค้ด 2 มิติชนิดต่างๆ

บาร์โค็ดแบบ QR Code (Quick Response Code) เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

บาร์โค็ดแบบ QR Code (Quick Response Code) เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร   2.3 บาร์โค็ดแบบ QR Code (Quick Response Code)

QR Code เป็นบาร์โค้ด 2 มิติแบบเมตริกซ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Nippon Denso ประเทศญี่ปุ่นในปี 2537 [4] สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO/IEC 18004, JIS X 0510, JEIDA-55 และ AIM ITS/97/001 ISS-QR Code ลักษณะของบาร์โค้ดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีโมดูลข้อมูล 21x21 ถึง 177x177 โมดูล สามารถบรรจุข้อมูลได้มากที่สุด 7,089 ตัวเลขหรือ 4,296 ตัวอักษร ข้อมูลเลขฐานสอง 2,953 ไบต์ และตัวอักษรญี่ป่น 1,817 ตัวอักษร รูปแบบค้นหาของ QR Code อยู่ที่มุมทั้งสามของบาร์โค้ด คือ มุมซ้ายบน มุมซ้ายล่าง และมุมขวาบน ดังรูปที่ 7 QR Code ส่วนใหญ่ใช้ในงานที่ต้องการบรรจุข้อมูลจำนวนมากลงในบาร์โค้ดและต้องการอ่านข้อมูลจากบาร์โค้ดอย่างรวดเร็ว  
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร บาร์โค็ดแบบ QR Code (Quick Response Code)

บาร์โค้ดแบบ Data Matrix เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

บาร์โค้ดแบบ Data Matrix เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร     2. บาร์โค้ดแบบเมตริกซ์ (Matrix Barcode) บาร์โค้ดแบบเมตริกซ์มีลักษณะหลากหลายและมีความเป็นสองมิติมากกว่าบาร์โค้ดแบบสต็กที่เหมือนนำบาร์โค้ด 1 มิติไปซ้อนกัน ลักษณะเด่นของบาร์โค้ดแบบเมตริกซ์คือมีรูปแบบค้นหา (Finder Pattern) ทำหน้าที่เป็นตัวอ้างอิงตำแหน่งในการอ่านและถอดรหัสข้อมูล ช่วยให้อ่านข้อมูลได้รวดเร็วและสามารถอ่านบาร์โค้ดได้แม้บาร์โค้ดเอียง หมุน หรือกลับหัว ตัวอย่างบาร์โค้ดแบบเมตริกซ์ 2.1 บาร์โค้ดแบบ MaxiCode
MaxiCode เป็นบาร์โค้ด 2 มิติแบบเมตริกซ์ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท Oniplanar และนำไปใช้โดยบริษัทขนส่ง UPS (United Parcel Service)ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2530 [2] MaxiCode สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO/IEC 16023 และ ANSI/AIM BC10-ISS-MaxiCode ลักษณะบาร์โค้ดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาด 1.11 x 1.054 นิ้วส่วนแทนรหัสข้อมูลมีลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยมทั้งหมด 866 โมดูล เรียงตัวกันใน 33 แถวรอบรูปแบบค้นหา ซึ่งรูปแบบค้นหาของ MaxiCode มีลักษณะเป็นวงกลมซ้อนกันสามวงอยู่กลางบาร์โค้ดดังรูปที่ 5 MaxiCode สามารถบรรจุข้อมูลได้ 138 ตัวเลขหรือ 93 ตัวอักษร บาร์โค้ดชนิดนี้ถูกออกแบบให้สามารถอ่านได้อย่างรวดเร็ว จึงนำไปประยุกต์ใช้กับงานที่ต้องการความเร็วในการอ่านสูงเป็นส่วนใหญ่ 2.2 บาร์โค้ดแบบ Data Matrix  
  Data Matrix ถูกพัฒนาโดยบริษัท RVSI Acuity CiMatrix ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2532 [3] สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO/IEC 16022 และ ANSI/AIM BC-11-ISS-Data Matrix ลักษณะบาร์โค้ดมีทั้งรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้า สำหรับบาร์โค้ดสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีโมดูลข้อมูลระหว่าง 10 x 10 ถึง 144 x 144 และรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามี 8 x 8 ถึง 16 x 48 โมดูล Data Matrix สามารถบรรจุข้อมูลได้มากที่สุด 3,116 ตัวเลขหรือ 2,355 ตัวอักษร แต่สำหรับข้อมูลประเภทอื่นได้แก่ข้อมูลเลขฐานสองบรรจุได้ 1,556 ไบต์ (1 ไบต์เท่ากับเลขฐานสอง 8 หลัก) และตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นบรรจุได้ 778 ตัวอักษร รูปแบบค้นหาของบาร์โค้ดแบบ Data Matrix อยู่ที่ตำแหน่งขอบซ้ายและด้านล่างของบาร์โค้ดตามรูปที่ 6 บาร์โค้ด Data Matrix ส่วนใหญ่ใช้ในงานที่มีพื้นที่จำกัดและต้อกงการบาร์โค้ดขนาดเล็ก  
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร บาร์โค้ดแบบ Data Matrix

บาร์โค้ดแบบสแต๊ก เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

บาร์โค้ดแบบสแต๊ก เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร     บาร์โค้ด 2 มิติ (2 Dimension Barcode) บาร์โค้ด 2 มิติเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาเพิ่มเติมจากบาร์โค้ด 1 มิติ โดยออกแบบให้บรรจุได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน [1] ทำให้สามารถบรรจุข้อมูลมากได้ประมาณ 4,000 ตัวอักษรหรือประมาณ 200 เท่าของบาร์โค้ด 1 มิติในพื้นที่เท่ากันหรือเล็กกว่า ข้อมูลที่บรรจุสามารถใช้ภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษได้ เช่น ภาษาญี่ปุ่น จีน หรือเกาหลี เป็นต้นและบาร์โค้ด 2 มิติสามารถถอดรหัสได้แม้ภาพบาร์โค้ดบางส่วนมีการเสียหาย อุปกรณ์ที่ใช้อ่านและถอดรหัสบาร์โค้ด 2 มิติมีตั้งแต่เครื่องอ่านแบบซีซีดีหรือเครื่องอ่านแบบเลเซอร์เหมือนกับของบาร์โค้ด 1 มิติจนถึงโทรศัพท์มือถือแบบมีกล้องถ่ายรูปในตัวซึ่งติดตั้งโปรแกรมถอดรหัสไว้ ในส่วนลักษณะของบาร์โค้ด 2 มิติมีอยู่อย่างมากมายตามชนิดของบาร์โค้ด เช่น วงกลม สี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายกับบาร์โค้ด 2 มิติ ดังรูปที่ 2 เป็นต้น ตัวอย่างบาร์โค้ด 2 มิติ ได้แก่ PD417, MaxiCode, Data Matrix, และ QR Code

บาร์โค้ด 2 มิติ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. บาร์โค้ดแบบสแต็ก (Stacked Barcode) บาร์โค้ดแบบสแต็กมีลักษณะคล้ายกับการนำบาร์โค้ด 1 มิติมาวางซ้อนกันหลายแถว มีการทำงานโดยอ่านภาพถ่ายบาร์โค้ดแล้วปรับความกว้างของบาร์โค้ดก่อนทำการถอดรหัส ซึ่งการปรับความก้าวงนี้ทำให้สามารถถอดรหัสจากภาพที่เสียหายบางส่วนได้ โดยส่วนที่เสียหายนั้นต้องไม่เสียหายเกินขีดจำกัดหนึ่งที่กำหนดไว้ การอ่านบาร์โค้ดแบบสแต็กสามารถอ่านได้ทิศทางเดียว เช่น อ่านจากทางซ้ายไปขวาหรือทางขวาไปซ้าย และอ่านจากด้านบนลงล่างหรือจากด้านล่างขึ้นบน เป็นต้น ตัวอย่างบาร์โค้ดแบบสแต๊ก 1.1 บารโค้ด PDF417 (Portable Data File) PDF417 เป็นบาร์โค้ด 2 มิติแบบสแต็ก ซึ่งพัฒนาขึ้นในปี 2535 โดยบริษัท Symbol Technologies ประเทศสหรัฐอเมริกาบาร์โค้ดแบบ PDF417 สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO/IEC 15438 และ AIM USS-PDF417 ลักษณะบาร์โค้ดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีส่วนแทนรหัสข้อมูลหรือที่เรียกว่าโมดูลข้อมูล (Data Module) เป็นแถบสีดำและสีขาวเรียงตัวกันหลายๆ แถว แถวแนวตั้งและแนวนอน (รูปที่ 3)ซึ่งประกอบด้วย 3 ถึง 90 แถว และ 1 ถึง 30 คอลัมน์ สามารถบรรจุข้อมูลได้มากที่สุด 2,710 ตัวเลข 1,850 ตัวอักษร 1,018 ไบนารี หรือคันจิ 554 ตัวอักษร คำว่า PDF ย่อมาจาก Portable Data File และประกอบไปด้วย 4 แถบ และ 4 ช่องว่างใน 17 โมโดูล จึงทำให้ได้หมายเลข 417 เครื่องอ่านบาร์โค้ดจะสามารถอ่านได้ในทิศทางเดียว เช่น อ่านจากทางซ้ายไปขวาหรือทางขวาไปซ้าย และอ่านจากด้านบนลงล่างหรือจากด้านล่างขึ้นบน เป็นต้นโดยส่วนใหญ่บาร์โค้ดแบบ PDF417 จะนำไปใช้กับงานที่ต้องการความละเอียด และถูกต้องมากเป็นพิเศษ

ลักษณะของบาร์โค้ด PDF417
จากรูปที่ 4 สามารถอธิบายส่วนต่างๆ ได้ดังนี้
- Quiet Zone เป็นบริเวณว่างเปล่า ไม่มีการพิมพ์ข้อความใดๆ อยู่โดยรอบบาร์โค้ด ใช้เป็นส่วนกำหนดขอบเขตของบาร์โค้ดในการอ่านและถอดรหัส - Start pattern ใช้เป็นตัวกำหนดตำแหน่งเริ่มต้นการอ่านค่าของข้อมูลบาร์โค้ด - Stop pattern ใช้เป็นตัวกำหนดตำแหน่งสิ้นสุดการอ่านของข้อมูลบาร์โค้ด - Left indicator และ Right indicator เป็นส่วนถัดเข้ามาจาก Start pattern ทำหน้าที่เก็บข้อมูล และ Stop patternทำหน้าที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนแถว จำนวนคอลัมน์ และขีดจำกัดความเสียหายของข้อมูลที่ยังทำให้ถอดรหัสบาร์โค้ดได้ - Data Region เป็นส่วนข้อมูลมีบรรจุในบาร์โค้ด
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร บาร์โค้ดแบบสแต๊ก

บาร์โค้ด 1 มิติ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

บาร์โค้ด 1 มิติ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร     เทคโนโลยีบาร์โค้ดเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ อาทิ ด้านการค้า โดยนำบาร์โค้ดมาติดกับตัวสินค้าผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการจัดเก็บชื่อ รหัส และราคาของสินค้า หรือทางด้านการจัดการสต๊อกสินค้า ช่วยในการตรวจสอบจำนวนสินค้าคงเหลือได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ทั้งนี้การนำบาร์โค้ดมาใช้อย่างแพร่หลายแะเป็นที่นิยมกันมาก ทว่า คุณสมบัติที่มีอยู่ของบาร์โค้ดแบบ 1 มิตินั้น ยังไม่รองรับความต้องการของผู้ใช้งานได้มากเท่าที่ควร เช่น การบรรจุข้อมูลได้น้อย และการใช้ฐานข้อมูลในการจัดเก็บ เป็นต้น ดังนั้นจึงทำให้มีการพัฒนาบาร์โค้ด 2 มิติขึ้นมา บาร์โค้ด 1 มิติ (1 Dimension Barcode) บาร์โค้ด 1 มิติมีลักษณะเป็นแถบประกอบด้วยเส้นสีดำสลับกับเส้นสีขาว ใช้แทนรหัสตัวเลขหรือตัวอักษรโดยสามารถบรรจุข้อมูลได้ประมาณ 20 ตัวอักษร การใช้งานบาร์โค้ดมักใช้ร่วมกับฐานข้อมูลคือเมื่ออ่านบาร์โค้ดและถอดรหัสแล้วจึงนำรหัสที่ได้ใช้เรียกข้อมูลจากฐานข้อมูลอีกต่อหนึ่ง บาร์โค้ด 1 มิติมีหลายชนิด เช่น UPC EAN-13 หรือ ISBN ดังรูปที่ 1 เป็นต้น ซึ่งบาร์โค้ด 1 มิติเหล่านี้สามารถพบได้ตามสินค้าทั่วไปในซูเปอร์มาร์เก็ตหรือห้างสรรพสินค้า  
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร บาร์โค้ด 1 มิติ

บาร์โค้ดแบบแท่ง เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

บาร์โค้ดแบบแท่ง เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร   เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม ขอขอบคุณภาพประกอบจาก en.wikipedia.org

บอร์โค้ด

รหัสแท่ง ๆ เป็นลายเส้นตรง ๆ มีตัวเลขกำกับอยู่ด้านล่าง ที่มักปรากฎบนปกหนังสือ หรือสินค้าแทบทุกชนิดบนโลกใบนี้ หรือที่เรียกกันว่า "บาร์โค้ด" (barcode) ซึ่งเจ้าสัญลักษณ์คุ้นตาที่ช่วยอำนวยความสะดวกได้อย่างน่ามหัศจรรย์นี้ ได้มีการออกสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม (พ.ศ.2495) หรือวันนี้ เมื่อ 57 ปีก่อน ดังนั้น วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาเพื่อน ๆ ย้อนอดีตไปรู้จักกับ การประดิษฐ์บาร์โค้ด รหัสแท่งมหัศจรรย์ กันค่ะ บาร์โค้ด คืออะไร บาร์โค้ด (barcode) หรือในภาษาไทยเรียกว่า "รหัสแท่ง" คือ การแทนข้อมูลที่เป็นรหัสเลขฐานสอง (Binary codes) ในรูปแบบของแถบสีดำและขาวที่มีความกว้างของแถบที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับตัวเลขที่กำกับอยู่ข้างล่าง การอ่านข้อมูลจะอาศัยหลักการสะท้อนแสง เพื่ออ่านข้อมูลเข้าเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรงไม่ต้องผ่านการกดปุ่มที่แป้นพิมพ์ ระบบนี้เป็นมาตรฐานสากลที่นิยมใช้กันทั่วโลก การนำเข้าข้อมูลจากรหัสแถบของสินค้าเป็นวิธีที่รวดเร็วและความน่าเชื่อถือได้สูงและให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้งานได้ดี ทั้งนี้ เทคโนโลยี บาร์โค้ด ถูกนำมาใช้ทดแทนในส่วนการบันทึกข้อมูล (Data Entry) ด้วยคีย์บอร์ด ซึ่งมีอัตราความผิดพลาดอยู่ประมาณ 1 ใน 100 หรือบันทึกข้อมูลผิดพลาดได้ 1 ตัวอักษร ในทุก ๆ 100 ตัวอักษร แต่สำหรับระบบบาร์โค้ด อัตราการเกิดความผิดพลาดจะลดลงเหลือเพียง 1 ใน 10,000,000 ตัวอักษรเลยทีเดียว นี่จึงเป็นเหตุผลที่นิยมนำมาใช้กันแพร่หลายทั่วโลก สำหรับระบบบาร์โค้ด จะใช้ควบคู่กับเครื่องอ่าน ที่เรียกว่า เครื่องยิงบาร์โค้ด (Scanner ) ซึ่งเป็นเป็นตัวอ่านข้อมูล ที่อยู่ในรูปรหัสแท่ง เป็นข้อมูลตัวเลข หรือตัวอักษร ทำให้มนุษย์สามารถเข้าใจ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งาน ประวัติ การประดิษฐ์บาร์โค้ด บาร์โค้ด (barcode) ถูกประดิษฐ์ขึ้นจากฝีมือการคิดประดิษฐ์ของ Norman Joseph Woodland และ Bernard Silver สองศิษย์เก่าของ Drexel Institute of Technology ในเมืองฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา โดยจุดประกายของ การประดิษฐ์บาร์โค้ด เริ่มต้นจาก Wallace Flint จาก HarvardBusinessSchool ในปี ค.ศ.1932 ซึ่งเขาได้เสนอการเลือกสินค้าที่ต้องการจากรายการ โดยใช้บัตรเจาะรู เพื่อแบ่งหมวดหมู่เดียวกัน แต่ความคิดดังกล่าวนั้นก็ไม่ได้ถูกสานต่อ จนกระทั่ง Bernard Silver ซึ่งขณะนั้นยังเป็นนักศึกษาอยู่ เกิดบังเอิญไปได้ยินประธานบริษัทค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภครายหนึ่งในเมืองฟิลาเดลเฟีย ปรึกษากับคณบดี ว่า ทางมหาวิทยาลัยน่าจะส่งเสริมให้มีการทดลองเกี่ยวกับระบบจัดเก็บและอ่านข้อมูลสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจค้าปลีกในการทำสต็อก และด้วยความที่ Bernard ไม่ได้ฟังแบบเข้าหูขวาทะลุหูซ้าย เขาจึงนำสิ่งที่ได้ยินกลับมาครุ่นคิด และชักชวนให้ศิษย์ผู้พี่ Norman Joseph Woodland มาร่วมกันทำฝันให้เป็นจริง และในปี ค.ศ.1952 ทั้งคู่ก็ให้กำเนิด บาร์โค้ด หลังพยายามทดลอง ประดิษฐ์บาร์โค้ด อยู่นานหลายปี และได้มีการออกสิทธิบัตร บาร์โค้ด ขึ้นในวันที่ 7 ตุลาคม ปีเดียวกันนั้นเอง โดยบาร์โค้ดชนิดแรกที่ทั้งสองผลิตขึ้นนั้น ไม่ได้เป็นลายเส้นอย่างที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน หากแต่มีลักษณะคล้าย แผ่นปาเป้า ที่ประกอบด้วยวงกลมสีขาวซ้อนกันหลายๆ วง บนพื้นหลังสีเข้ม ทว่า ผลงานครั้งนั้นก็ยังไม่ถูกใจทั้งสองเท่าที่ควร แต่กระนั้น ร้านค้าปลีกในเครือ Kroger ที่เมืองซินซินนาติ มลรัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ได้นำเอาระบบบาร์โค้ดแบบแผ่นปาเป้า ไปใช้เป็นแห่งแรกของโลก ในปี ค.ศ.1967 ต่อมาได้มีการพัฒนา บาร์โค้ด และประดิษฐ์ เครื่องแสกน บาร์โค้ด ขึ้น และใช้งานเป็นครั้งแรกในโลกที่ Marsh’s ซูเปอร์มาร์เก็ต ในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ.1974 และ ในวันที่ 26 เดือนนั้น หมากฝรั่ง Wrigley's Juicy Fruit ก็กลายเป็นสินค้าชิ้นแรกในโลกที่ถูกสแกน บาร์โค้ด เพราะมันเป็นสินค้าชิ้นแรกที่ถูกหยิบขึ้นจากรถเข็นของลูกค้าคนแรกของร้านในวันนั้น วิวัฒนาการ บาร์โค้ด แต่เดิมนั้น บาร์โค้ด จะถูกนำมาใช้ในร้านขายของชำและตามปกหนังสือ ต่อก็เริ่มมาพบในร้านอุปกรณ์ประกอบรถยนต์และร้านอุปโภคบริโภคทั่วไป ในแถบยุโรป รถบรรทุกทุกคัน ที่จะต้องวิ่งระหว่างประเทศฝรั่งเศสและประเทศเยอรมนี จะต้องใช้แถบรหัสบาร์โค้ดที่หน้าต่างทุกคัน เพื่อใช้ในการแสดงใบขับขี่ ใบอนุญาต และน้ำหนักรถบรรทุก เพื่อให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถตรวจได้ง่ายและรวดเร็ว ในขณะที่รถลดความเร็ว เครื่องตรวจจะอ่านข้อมูลจากบาร์โค้ด และแสดงข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ทันที ปัจจุบันวิวัฒนาการของบาร์โค้ด พัฒนาไปมาก ทั้งรูปแบบและความสามารถในการเก็บข้อมูล โดยบาร์โค้ดที่ใช้ในยุคสมัยนี้มีทั้งแบบ 1 มิติ 2 มิติ และ 3 มิติ แต่ที่เราใช้กันทั่วไปในสินค้านั้นเป็นแบบมิติเดียว บันทึกข้อมูลได้จำกัด ตามขนาดและความยาว โดยบาร์โค้ด 2 มิติ จะสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าแบบอื่น ๆ มาก และขนาดเล็กกว่า รวมทั้งสามารถพลิกแพลงการใช้งานได้มากกว่า ขนาดที่ว่าสามารถซ่อนไฟล์ใหญ่ ๆ ทั้งไฟล์ลงบนรูปภาพได้เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม บาร์โค้ด 2 มิติ ก็ยังไม่เสถียรพอ ทำให้การนำมาใช้งานหลากหลายเกินไป จนอาจเกิดปัญหาการใช้งานร่วมกันและต้องใช้เครื่องมือเฉพาะของมาตรฐานนั้น ๆ ในการอ่าน ซึ่งในปัจจุบันมีความพยายามที่จะกำหนดมาตรฐานของบาร์โค้ด 2 มิติ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็คโทรนิคส์ และ อุตสาหกรรมยา/เครื่องมือแพทย์ ที่มีความต้องการใช้งานบาร์โค้ดที่เล็กแต่บรรจุข้อมูลได้มาก จนได้บาร์โค้ดลูกผสมระหว่าง 1 มิติกับ 2 มิติขึ้นมา ในชื่อเดิมคือ RSS Reduce Space Symbol หรือชื่อใหม่คือ GS1 DataBar สำหรับประเทศไทย เคยมีการทดลองใช้บาร์โค้ด 2 มิติในเชิงพาณิชย์ โดยค่ายมือถือยักษ์ใหญ่ แต่ก็เงียบหายไป เนื่องจากขาดการสร้างความเข้าใจให้กับฐานลูกค้าที่ชัดเจน ส่วนบาร์โค้ด 3 มิติ คือความพยายามที่จะแก้ข้อจำกัดของบาร์โค้ด ที่มีปัญหาในสภาวะแวดล้อมที่โหด ๆ เช่น ร้อนจัด หนาวจัด หรือมีความเปรอะเปื้อนสูง เช่น มีการพ่นสี พ่นฝุ่นตลอดเวลา ซึ่งส่วนใหญ่จะพบการใช้ บาร์โค้ด 3 มิติ ในอุตสาหกรรมหนัก ๆ เช่น เครื่องจักร เครื่องยนต์ โดยจะยิงเลเซอร์ลงบนโลหะ เพื่อให้เป็นบาร์โค้ด หรือจัดทำให้พื้นผิวส่วนหนึ่งนูนขึ้นมาเป็นรูปบาร์โค้ด (Emboss) นั่นเอง ประเภทของ บาร์โค้ด 1. โค้ดภายใน (Internal Code) เป็นบาร์โค้ดที่ทำขึ้นใช้เองในองค์กรต่าง ๆ ไม่สามารถนำออกไปใช้ภายนอกได้ 2. โค้ดมาตรฐานสากล (Standard Code) เป็นบาร์โค้ดที่เป็นที่รู้จัก และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก มี 2 ระบบ คือ • ระบบ EAN (European Article Numbering) เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีประเทศต่าง ๆ ใช้มากกว่า 90 ประเทศทั่วโลก ในภาคพื้นยุโรป เอเชีย และแปซิฟิก, ออสเตรเลีย, ลาติน อเมริกา รวมทั้งประเทศไทย ทั้งนี้ EAN มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม • ระบบ UPC (Universal Product Code) เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2515 ซึ่งกำหนดมาตรฐานโดย Uniform Code Council.Inc ใช้แพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกา และ แคนาดา สำหรับบาร์โค้ดในประเทศไทยเริ่มนำมาใช้อย่างจริงจัง โดยมีสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย (Thai Article Numbering Council) หรือ TANC เป็นองค์กรตัวแทน EAN ภายใต้การดูแลของสภาอุตสาหกรรมกรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ระบบ EAN ที่ประเทศไทยใช้นั้นจะมีลักษณะเป็นเลขชุด 13 หลัก ซึ่งมีความหมายดังนี้ 885 : ตัวเลข 3 หลักแรก คือรหัสของประเทศไทย xxxx : ตัวเลข 4 ตัวถัดมา เป็นรหัสโรงงานที่ผลิต หรือรหัสสมาชิก xxxxx : 5 ตัวถัดมา เป็นรหัสสินค้า x : ตัวเลขหลักสุดท้ายเป็นตัวเลขตรวจสอบ เลข 12 ข้างหน้าว่ากำหนดถูกต้องหรือไม่ ถ้าตัวสุดท้ายผิด บาร์โค้ดตัวนั้นจะอ่านไม่ออก สื่อความหมายไม่ได้ และนี่เป็นเรื่องราวคร่าว ๆ ของ บาร์โค้ด ประวัติ การประดิษฐ์บาร์โค้ด ที่นำมาฝากกัน เนื่องในวันครบรอบ 57 ปี บาร์โค้ด  
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร บาร์โค้ดแบบแท่ง

บาร์โค้ดแบบตัวเลข เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

บาร์โค้ดแบบตัวเลข เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร   การทำงานของบาร์โค้ด เครื่องอ่านบาร์โค้ด จะทำงานโดยแยกความกว้างระหว่างพื้นที่มืดและพื้นที่สว่างออกมาเป็นรหัสตัวเลข เมื่อแสงจากเครื่องอ่านบาร์โค้ดมากระทบบาร์โค้ดในลักษณะวางพาดขวาง แสงสะท้อนที่ออกจากเส้น มืดจะน้อยกว่าแสงที่สะท้อนออกจากพื้นที่สว่าง เครื่องอ่านบาร์โค้ดจะแปลงแสงสะท้อนนี้เป็นรหัสไปยัง เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือจัดเก็บข้อมูลแบบพกพา มีบาร์โค้ดบางแบบที่มีการตรวจสอบความถูก ต้องของบาร์โค้ด โดยมีการคำนวนเลขตรวจสอบ (Check digit Calculation)และแสดงค่านั้นๆ มาท้าย ของข้อมูลที่อ่านได้ เช่นบาร์โค้ดในแบบ UPC/EAN และการอ่านบาร์โค้ดจะแสดงผลทั้งการอ่านปกติ และผลของการเปรียบเทียบของการตรวจสอบบาร์โค้ด และเมื่อพบข้อผิดพลาดของข้อมูลในตัวบาร์โค้ด เครื่องอ่านบาร์โค้ด หรือโปรแกรมที่ใช้พิมพ์บาร์โค้ดจะแสดงข้อผิดพลาดดังกล่าวออกมาเพื่อทำการแก้ไข และให้ทำการอ่านบาร์โค้ดหรือพิมพ์บาร์โค้ดใหม่อีกครั้ง บาร์โค้ดในแต่ละแบบมีรูปแบบของลักษณะแท่ง บาร์โค้ดที่แต่งต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นขนาดของแท่งบาร์โค้ด ลักษณะการจัดวางตัวอักษร/ตัวเลข วิธีการ บันทึกข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด และอื่นๆแต่โดยทั่วไปแล้วผู้ใช้งานมักจะสนใจคุณ สมบัติการใช้งานมากกว่าข้อมูลทางด้านเทคนิคของบาร์โค้ดนั้นๆ
บาร์โค้ดแบบตัวเลข EAN-13 (European Article Numbering international retail product code) เป็นแบบบาร์โค้ด ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก โดยบาร์โค้ดประเภทนี้จะมีลักษณะเฉพาะของชุดตัวเลขจำนวน 13 หลัก ซึ่งมีความหมายดังนี้ 3 หลักแรก คือ รหัสของประเทศที่กำหนดขึ้นมาเพื่อให้ผู้ผลิตได้ทำการลงทะเบียนได้ทำการผลิตจาก ประเทศไหน 4 หลักถัดมา คือ รหัสโรงงานที่ผลิต 5 หลักถัดมา คือ รหัสของสินค้า และ ตัวเลขในหลักสุดท้าย จะเป็นตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด (Check digit) แม้ว่าบาร์โค้ดแบบ EAN-13 จะได้รับการยอมรับไปทั่วโลก แต่ในสหรัฐอเมริกาและแคนนาที่เป็น ต้นกำเนิดบาร์โค้ดแบบ UPC-A ยังคงมีการใช้บาร์โค้ดแบบเดิม จนวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2005 หน่วยงาน Uniform Code Council ได้ประกาศให้ใช้บาร์โค้ดแบบ EAN-13 ไปพร้อมๆ กับ UPC-A ที่ใช้อยู่เดิม การออกประกาศในครั้งนี้ทำให้ผู้ผลิตที่ต้องการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกาและ แคนาดาต้องใช้บาร์โค้ดทั้ง 2 แบบบนผลิตภัณฑ์ การคำนวนตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของ บาร์โค้ดแบบ EAN-13 (Check digit Calculation) >> นำตัวเลขในตำแหน่งคู่ (หลักที่ 2,4,6,8,10,12 )มารวมกัน แล้วคูณด้วย 3 >> นำตัวเลขในตำแหน่งคี่ (หลักที่ 1,3,5,7,9,11 )มารวมกัน >> นำผลลัพท์จากข้อ 1 และ 2 มารวมกัน >> นำผลลัพท์ที่ได้จากข้อ 3 ทำการ MOD ด้วย 10 จะได้เป็นตัวเลข (Check digit ) ที่จะต้องแสดงในหลักที่ 13  
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร บาร์โค้ดแบบตัวเลข

การทำงานของบาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

การทำงานของบาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร   การทำงานของบาร์โค้ด เครื่องอ่านบาร์โค้ด จะทำงานโดยแยกความกว้างระหว่างพื้นที่มืดและพื้นที่สว่างออกมาเป็นรหัสตัวเลข เมื่อแสงจากเครื่องอ่านบาร์โค้ดมากระทบบาร์โค้ดในลักษณะวางพาดขวาง แสงสะท้อนที่ออกจากเส้น มืดจะน้อยกว่าแสงที่สะท้อนออกจากพื้นที่สว่าง เครื่องอ่านบาร์โค้ดจะแปลงแสงสะท้อนนี้เป็นรหัสไปยัง เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือจัดเก็บข้อมูลแบบพกพา มีบาร์โค้ดบางแบบที่มีการตรวจสอบความถูก ต้องของบาร์โค้ด โดยมีการคำนวนเลขตรวจสอบ (Check digit Calculation)และแสดงค่านั้นๆ มาท้าย ของข้อมูลที่อ่านได้ เช่นบาร์โค้ดในแบบ UPC/EAN และการอ่านบาร์โค้ดจะแสดงผลทั้งการอ่านปกติ และผลของการเปรียบเทียบของการตรวจสอบบาร์โค้ด และเมื่อพบข้อผิดพลาดของข้อมูลในตัวบาร์โค้ด เครื่องอ่านบาร์โค้ด หรือโปรแกรมที่ใช้พิมพ์บาร์โค้ดจะแสดงข้อผิดพลาดดังกล่าวออกมาเพื่อทำการแก้ไข และให้ทำการอ่านบาร์โค้ดหรือพิมพ์บาร์โค้ดใหม่อีกครั้ง บาร์โค้ดในแต่ละแบบมีรูปแบบของลักษณะแท่ง บาร์โค้ดที่แต่งต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นขนาดของแท่งบาร์โค้ด ลักษณะการจัดวางตัวอักษร/ตัวเลข วิธีการ บันทึกข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด และอื่นๆแต่โดยทั่วไปแล้วผู้ใช้งานมักจะสนใจคุณ สมบัติการใช้งานมากกว่าข้อมูลทางด้านเทคนิคของบาร์โค้ดนั้นๆ    
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร การทำงานของบาร์โค้ด

ข้อดีของการใช้ บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

ข้อดีของการใช้ บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร     ข้อดีของการใช้บาร์โค้ด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน : บาร์โค้ดจะช่วยให้การทำงานรวดเร็วขึ้น และมีความเที่ยงตรง แม่น ยำมากในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ตัวอย่างเช่น ในบางขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ต้องการความรวดเร็ว มีการติดตาม งานที่แม่นยำใช้เวลาเพียงเล็กน้อยในการติดตามสถานะของวัตถุดิบ สินค้า หรือส่วนอื่นๆ ในสายการปฏิบัติงานที่ จำเป็นต้องระมัดระวังทุกขั้นตอนในการดำเนินการ จะช่วยลดระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาที่ไม่คาดคิดที่จะเกิดใน กระบวนการทำงานได้มากขึ้น ประหยัดเวลา : โดยปกติคุณอาจต้องการพนักงาน 20 คนในการเช็คสต๊อกกลางปีในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ แต่สำหรับระบบบาร์โค้ดคุณต้องการเพียงพนักงาน 3 คนและใช้เวลาเพียง 6 ชั่วโมงในการเช็คสต๊อกให้เรียบร้อย ในการดำเนินงานในแต่ละวัน ถ้ามีการขนส่งสินค้า 20 กล่อง จากเดิมที่คุณต้องใช้เวลาประมาณ 5 นาทีในการจด รหัสสินค้า และเลขซีเรียลแต่คุณจะใช้เวลาเพียง 15-30 วินาทีเท่านั้นในการสแกนบาร์โค้ด นอกจากจะประหยัด เวลา ประหยัดทรัพยากรบุคคลแล้วระบบบาร์โค้ดยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานเป็นอย่าง มาก ลดข้อผิดพลาด : ข้อผิดพลาดที่เกิดในการจัดการข้อมูลบางครั้งอาจจะนำไปสู่ปัญหาใหญ่ๆ ได้ รวมถึงทำให้ เสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์และยังทำให้ลูกค้าเกิดความไม่พอใจด้วย ข้อผิดพลาดส่วนใหญ่เกิด จากพนักงานใส่ข้อมูลผิดพลาด แต่ถ้าใช้บาร์โค้ดในการจัดเก็บข้อมูล ความเที่ยงตรง แม่นยำที่มากกว่า จะช่วย ลดข้อผิดพลาดในการทำงานได้ฃเป็นอย่างมาก ลดค่าใช้จ่าย : เมื่อบาร์โค้ดมีการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลามากขึ้น ลดอัตราการจ้างงาน คุณก็จะประหยัดเวลาในการทำงาน และประหยัดค่าใช้จ่ายในโครงการต่างๆ      
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร ข้อดีของการใช้ บาร์โค้ด

บาร์โค้ด 2 มิติ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

บาร์โค้ด 2 มิติ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร     บาร์โค้ดคืออะไร บาร์โค้ด (Barcode) เป็นรหัสแท่งประกอบด้วยเส้นมืด (มักจะเป็นสีดำ) และเส้นสว่าง(มักเป็นสีขาว) วางเรียง กันเป็นแนวดิ่ง เป็นรหัสแทนตัวเลขและตัวอักษร ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่าน รหัสข้อมูลได้ง่ายขึ้น โดยใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) ซึ่งจะทำงานได้รวดเร็ว และช่วยลดความ ผิดพลาดในการคีย์ข้อมูลได้มาก บาร์โค้ดเริ่มกำเนิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1950 โดยประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งคณะ กรรมการเฉพาะกิจทางด้านพาณิชย์ขึ้นสำหรับค้นคว้ารหัสมาตรฐานและสัญลักษณ์ที่สามารถช่วยกิจการด้าน อุตสาหกรรม และสามารถจัดพิมพ์ระบบบาร์โค้ดระบบ UPC-Uniform ขึ้นได้ในปี 1973 ต่อมาในปี 1975 กลุ่ม ประเทศยุโรปจัดตั้งคณะกรรมการด้านวิชาการเพื่อสร้างระบบบาร์โค้ดเรียกว่า EAN-European Article Numbering สมาคม EAN เติบโตครอบคลุมยุโรปและประเทศอื่นๆ (ยกเว้นอเมริกาเหนือ) และระบบบาร์โค้ด EAN เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี 1987 โดยหลักการแล้ว บาร์โค้ดจะถูกอ่านด้วยเครื่องสแกนเนอร์ บันทึก ข้อมูลเข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรง โดยไม่ต้องกดปุ่มที่แท่นพิมพ์ ทำให้มีความสะดวก รวดเร็วในการทำงาน รวมถึงอ่านข้อมูลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เชื่อถือได้ และจะเห็นได้ชัดเจนว่าปัจจุบันระบบบาร์โค้ดเข้าไปมีบทบาท ในทุกส่วนของ อุตสาหกรรการค้าขาย และการบริการ ที่ต้องใช้การบริหารจัดการข้อมูลจากฐานข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และปัจจุบันมีกระประยุกต์การใช้งานบาร์โค้ดเข้ากับการใช้งานของMobile Computer ซึ่งสามารถพกพาได้สะดวก เพื่อทำการจัดเก็บแสดงผล ตรวจสอบและประมวลในด้านอื่นๆ ได้ด้วย
บาร์โค้ด 2 มิติ บาร์โค้ด 2 มิติเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาเพิ่มเติมจากบาร์โค้ด 1 มิติ โดยออกแบบให้บรรจุข้อมูลได้ทั้งในแนวตั้ง และแนวนอน ทำให้สามารถบรรจุข้อมูลมากได้ประมาณ 4,000 ตัวอักษร หรือประมาณ 200 เท่าของบาร์โค้ด 1 มิติในพื้นที่เท่ากันหรือเล็กกว่า ข้อมูลที่บรรจุสามารถใช้ภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษได้ เช่น ภาษาญี่ปุ่น จีน หรือ เกาหลี เป็นต้น และบาร์โค้ด 2 มิติสามารถถอดรหัสได้แม้ภาพบาร์โค้ดบางส่วนมีการเสียหาย อุปกรณ์ ที่ใช้อ่านและถอดรหัสบาร์โค้ด 2 มิติมีตั้งแต่เครื่องอ่านแบบซีซีดี หรือเครื่องอ่านแบบเลเซอร์เหมือนกับบาร์โค้ด 1 มิติจนถึงโทรศัพท์มือถือแบบมีกล้องถ่ายรูปในตัวซึ่งติดตั้งโปรแกรมถอดรหัสไว้ ลักษณะของบาร์โค้ด 2 มิติมี อยู่มากมายตามชนิดของบาร์โค้ด เช่น วงกลม สี่เหลี่ยมจตุรัส หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายกันกับบาร์โค้ด 1 มิติ บาร์โค้ด 2 มิติ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท >>บาร์โค้ด 2 มิติ แบบสแต๊ก (Stacked Barcode) บาร์โค้ดแบบสแต๊กมีลักษณะคล้ายกับการนำบาร์โค้ด 1 มิติมาวางซ้อนกันหลายแนว มีการทำงานโดยอ่านภาพ บาร์โค้ดแล้วปรับความกว้างของบาร์โค้ดก่อนทำการถอดรหัส ซึ่งการปรับความกว้างนี้ทำให้สามารถถอดรหัส จากที่เสียหายบางส่วนได้ โดยส่วนที่เสียหายนั้นต้องไม่เสียหายเกินขีดจำกัดหนึ่งที่กำหนดไว้ การอ่านบาร์โค้ด แบบสแต๊กสามารถอ่านได้ทิศทางเดียว เช่น อ่านจากซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้าย และการอ่านจากด้านบนลง ล่างหรือจากด้านล่างขึ้นด้านบน ตัวอย่างบาร์โค้ดแบบสแต๊ก คือ บาร์โค้ดแบบ PDF417 (Portable Data File) >>บาร์โค้ด 2 มิติ แบบเมตริกซ์ (Matrix Codes) บาร์โค้ดแบบเมตริกซ์มีลักษณะหลากหลายและมีความเป็นสองมิติมากกว่าบาร์โค้ดแบบสแต๊กที่เหมือนนำบาร์โค้ด 1 มิติไปซ้อนกัน ลักษณะเด่นของบาร์โค้ดแบบเมตริกซ์คือมีรูปแบบค้นหา (Finder Pattern) ทำหน้าที่เป็นตัวอ้าง อิงตำแหน่งในการอ่านและถอดรหัสข้อมูล ช่วยให้อ่านข้อมูลได้รวดเร็วและสามารถอ่านบาร์โค้ดได้แม้บาร์โค้ดเอียง หมุน หรือกลับหัว ตัวอย่างของบาร์โค้ดแบบแมตริกซ์ คือ บาร์โค้ดแบบ MaxiCode , บาร์โค้ดแบบ Data Matrix , บาร์โค้ดแบบ QR Code    
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร บาร์โค้ด 2 มิติ

ความหมายของ บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

ความหมายของ บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร    

Barcode คืออะไร ?

รหัสแถบ (Bar code) คือ แถบเส้นดำยาวพิมพ์เรียงเป็นแถบบนตัวภาชนะสำหรับบรรจุสินค้าที่วางขายกันตามร้านค้าหรือซูเปอร์มาร์เก็ททั่วไป สิ่งซึ่งแถบดำเหล่านี้เหมายถึงนั้นมักจะเป็น "ข้อความ" ที่ใช้บ่งบอกตัวสินค้านั้น ๆ เช่นว่า ยาสีฟัน เป็นต้น การใช้รหัสแถบบวกกับเครื่องอ่านรหัสแถบนี้ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว และความแม่นยำในการทำงานได้มาก ตัวอย่างในซูเปอร์มาร์เก็ท รหัสแถบที่ติดอยู่บนตัวสินค้า จะทำให้การคิดเงินทำได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ คือเมื่อพนักงานเพียงแต่ใช้ตัวอ่านรหัสแถบรูดผ่านรหัสแถบ ก็จะทราบว่าสินค้าชนิดนั้นเป็นสินค้าอะไร เมื่อบวกกับการโปรแกรมราคาสินค้าเข้ากับเครื่องคิดเงินบางประเภท ความผิดพลาดในการกดราคาสินค้าก็จะไม่เกิดขึ้น และในกรณีนี้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องติดราคาสินค้าลงบนสินค้าทุกตัว ทำให้สะดวกต่อการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าในอีกทางหนึ่ง Barcode คืออะไร ?
อีกตัวอย่างของการใช้รหัสแถบได้แก่ ศูนย์แยกจดหมายหรือสิ่งของพัสดุภัณฑ์ ในปัจจุบันการแยกแยะจดหมายอัตโนมัติโดยการให้เครื่องอ่านที่อยู่บนซองจดหมายหรือพัสดุภัณฑ์นั้นยังทำไม่ได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ และอีกประการหนึ่งความรวดเร็วก็ยังไม่ได้ระดับที่น่าพอใจ ระบบแยกจดหมายจึงใช้รหัสแถบเป็นสื่อกลาง โดยก่อนที่จะมีการส่งเข้าระบบแยก เราจะทำการตีรหัสแทนที่อยู่ปลายทางลงบนตัวจดหมายก่อน จากนั้นส่วนต่าง ๆ ในระบบแยกจดหมายก็จะอาศัยการอ่านรหัส ซึ่งสามารถทำได้อย่างง่ายดาย และแม่นยำในการแยกแยะจดหมายต่อไป ที่มา : ดร.สุวิทชัย คุ้มปีติ วารสารคอมพิวเตอร์ สมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ปีที่ 15 ฉบับที่ 75/2531
   
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร ความหมายของ บาร์โค้ด

บาร์โค้ด แต่ละประเภท เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

บาร์โค้ด แต่ละประเภท เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร       ชนิดของบาร์โค้ด - GTIN 13 เป็นบาร์โค้ดที่ใช้ติดบนสินค้าสำหรับขายปลีกทั่วไป - GTIN 14 เป็นบาร์โค้ดใช้สำหรับสินค้าค้าส่ง โดยสามารถบอกถึงความแตกต่างของหน่วยบรรจุภัณฑ์ - GS1-128 เป็นบาร์โค้ดที่สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งตัวเลขและตัวอักษร จึงสามารถบันทึกข้อมูลของสินค้าได้มาก เช่น หน่วยวัดต่างๆ,เลขหมายลำดับการขนส่ง,เลขหมาย batch/lot,วันหมดอายุและสถานที่ตั้ง เป็นต้น ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ และซัพพลายเชนและระบบการสืบค้นย้อนกลับ (traceability) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 10 ขั้นตอนการประยุกต์ใช้บาร์โค้ด 10 ขั้นตอนการประยุกต์ใช้บาร์โค้ด เพื่อยกระดับในการดำเนินธุรกิจ เป็นการรวบรวมกระบวนการหลักที่สำคัญของการใช้งานบาร์โค้ดให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพต่อการดำเนินธุรกิจ อีกทั้งสามารถนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการใช้งานบาร์โค้ดได้อย่างแท้จริง โดย 10 ขั้นตอนมีดังนี้ Step 1 การกำหนดเลขหมายนำหน้าบริษัท Step 2 การกำหนดเลขหมายประจำตัวสินค้า Step 3 การเลือกวิธีจัดพิมพ์บาร์โค้ด Step 4 การเลือกคุณลักษณะขั้นต้นของการสแกนบาร์โค้ด Step 5 การเลือกใช้บาร์โค้ดสำหรับผลิตภัณฑ์ Step 6 การเลือกขนาดของบาร์โค้ด Step 7 รูปแบบการกำหนดตัวอักษรในบาร์โค้ด Step 8 การเลือกคู่สีของแท่งบาร์โค้ด Step 9 การวางตำแหน่งบาร์โค้ด Step 10 วางแผนควบคุมคุณภาพบาร์โค้ด การตรวจสอบคุณภาพบาร์โค้ด ปัจจุบัน มีการใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดตามระบบมาตรฐานสากล GS1 ในการบริหารจัดการร่วมกับ Software ต่าง ๆ ในการดำเนินงานธุรกิจอย่างกว้างขวาง เช่น การชำระเงิน ณ จุดขาย, การสแกนรับสินค้าเข้า Stock หรือตัดจ่ายสินค้าออกจาก Stock, การบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ทางด้าน Traceability เป็นต้น และสามารถใช้งานได้กับทุกหน่วยงานใน Supply Chain ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้เล็งเห็นความสำคัญของบาร์โค้ดมากขึ้น สังเกตได้จากมีการตั้งข้อกำหนดทางการค้าที่เกี่ยวกับบาร์โค้ดเกิดขึ้น เช่น ในการนำสินค้าเข้าห้างต้องมีการติดบาร์โค้ดที่ตัวสินค้า หรือการติดต่อค้าขายกับบางประเทศจะมีการขอใบรับรองคุณภาพบาร์โค้ด ซึ่งหากบาร์โค้ดของสินค้ามีปัญหาไม่สามารถสแกนได้จะเกิดผลกระทบตลอดทั้ง Supply Chain บาร์โค้ดจึงเป็นตัวแปรสำคัญในการดำเนินธุรกิจ การตรวจสอบคุณภาพบาร์โค้ด (Barcode Verification) ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกๆ จุดของ Supply Chain และมั่นใจได้ว่าบาร์โค้ดที่ผลิตออกมาในแต่ละ Lot ได้คุณภาพหรือไม่นั้น จำเป็นต้องมีการการทดสอบ และเปรียบเทียบสัญลักษณ์กับมาตรฐานคุณภาพของการพิมพ์ และข้อมูล เพื่อให้ทราบว่าบาร์โค้ดอ่านค่าได้ดีแค่ไหน เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่าสัญลักษณ์ จะทำงานตรงตามวัตถุประสงค์ในทุก ๆ ขั้นตอนที่สินค้าเคลื่อนที่ในสาย Supply Chain เพื่อลดปัญหาระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ หรือต้นทุนที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งในการตรวจสอบคุณภาพบาร์โค้ดนั้นไม่สามารถใช้เครื่องสแกนทั่วไปในการตรวจสอบได้ แต่ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะที่เรียกว่า Barcode Verifier เนื่องจากว่า เครื่องสแกนถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการอ่านเท่านั้น แต่เครื่อง Barcode Verifier จะถูกออกแบบมาเพื่อทำการวัดค่าต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของบาร์โค้ด และสามารถทราบได้ว่าต้องปรับปรุงบาร์โค้ดที่จุดใดเพื่อให้ได้คุณภาพตาม มาตรฐานที่กำหนด อีกทั้งเครื่องสแกนแต่ละตัวมีคุณสมบัติที่ต่างกัน เช่น ขนาดของรูรับแสง ระบบการถอดรหัส (decode algorithms) ดังนั้นถ้าเครื่องสแกนเครื่องหนึ่งสามารถอ่านได้ ไม่ได้หมายความว่าเครื่องสแกนเครื่องอื่นๆจะสามารถอ่านสัญลักษณ์บาร์โค้ดนี้ ได้เช่นเดียวกัน สถาบัน รหัสสากล ได้ให้บริการรับตรวจสอบคุณภาพบาร์โค้ดตามมาตรฐาน ISO/IEC15416 และมาตรฐานสากล GS1 พร้อมทั้งออกใบรับรองผลการตรวจสอบคุณภาพบาร์โค้ด โดยมีอัตราค่าตรวจสอบคุณภาพดังนี้ - สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสถาบันรหัสสากล มีค่าใช้จ่าย 500 บาทต่อ 1 ใบรับรอง - สำหรับผู้ที่เป็นสมาชิกสถาบันรหัสสากล ได้รับสิทธิประโยชน์ตรวจสอบคุณภาพบาร์โค้ดโดยไม่มีค่าใช้จ่าย 20 ใบรับรอง / ปี สำหรับหมายเลขที่เกินสิทธิประโยชน์มีอัตราค่าใช้จ่าย 250 บาท ต่อ 1 ใบรับรอง การคำนวณตัวเลขตรวจสอบ (Check Digit) เลขตรวจสอบ (Check Digit) เป็นหมายเลขหลักสุดท้ายที่วางอยู่ในตำแหน่งขวาสุดของชุดตัวเลขบาร์โค้ด และ “Check Digit” นี้เกิดขึ้นจากการคำนวณเท่านั้น ซึ่งจะไม่สามารถระบุกำหนดค่าตัวเลขนี้เองได้ เนื่องจากหากมีการระบุให้หลักสุดท้ายเป็นเลข 9 หรือเลขอื่นตามที่ต้องการนั้น ทั้งๆ ที่ Check Digit ที่คำนวณออกมาไม่ใช่เลขนั้น ก็จะมีปัญหาเกิดขึ้นทันที คือ เครื่องสแกนเนอร์จะไม่สามารถอ่านค่าสัญลักษณ์บาร์โค้ดนั้นได้ คำนวณตัวเลขตรวจสอบ เลขหมายประจำตัวสินค้า (Global Trade Item Number: GTIN) การระบุตัวตนของสินค้า (Identification of Trade Items) อาศัยเลขหมายประจำตัวสินค้าสากล (GTIN : Global Trade Item Number) โดยเลขหมายดังกล่าวใช้บ่งชี้เฉพาะรายการสินค้า ที่ใช้ในการทำธุรกรรมธุรกิจทั่วโลก ซึ่งหมายถึงรายการใดๆ ก็ตามไม่ว่าจะเป็นตัวสินค้าหรือบริการ ที่สามารถใช้ในการอ้างอิงเพื่อจัดเก็บและค้นหาข้อมูลในระบบฐานข้อมูลระหว่างคู่ค้า อาทิเช่น ชนิดสินค้า, การกำหนดราคา, การสั่งซื้อ, หรือการจัดส่งสินค้า เป็นต้น โดยเลขหมายประจำตัวสินค้าจะประกอบด้วย รหัสประเทศ, เลขหมายประจำตัวสมาชิกหรือรหัสประจำตัวบริษัท, รหัสประจำตัวสินค้าที่ผู้ใช้งานเป็นผู้กำหนดเอง และตัวเลขตรวจสอบที่ได้จากการคำนวณ เลขหมายประจำตำแหน่งที่ตั้ง (Global Location Number : GLN) เลขหมาย GLN ถูกนำมาใช้เพื่อบ่งชี้ การเป็นหน่วยงานที่ถูกต้องทางกฏหมายของการเป็นองกรหนึ่ง หรือบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เลขหมาย GLN นี้ยังถูกนำมาใช้บ่งชี้สถานที่ตั้งทางกายภาพ หรือหน้าที่ของหน่วยงาน และแผนกงานในองค์กร เลขหมายประจำตำแหน่งที่ตั้งสากล หรือ GLN เป็นเลขหมายบ่งชี้ที่ใช้แทนหน่วยที่ตั้งองค์กรทางกายภาพหรือหน่วยทางหน้าที่หรือหน่วยงานที่ถูกต้องทางกฏหมาย การใช้เลขหมายประจำตำแหน่งเหล่านี้ เป็นข้อกำหนดบังคับเบื่องต้น สำหรับการใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพ DataBar : RSS (Reduced Space Symbology) GS1 DataBar คือบาร์โค้ดอีกรูปแบบหนึ่งที่มีขนาดเล็ก และบันทึกข้อมูลได้มากกว่าบาร์โค้ดในรูปแบบ EAN/UPC ซึ่งในอดีตมีชื่อเรียกว่า RSS (Reduced Space Symbology) โดยบาร์โค้ด GS1 DataBar นี้สามารถบรรจุข้อมูลที่สามารถทำการสืบย้อนกลับที่มาของสินค้าได้ ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกสามารถจำหน่ายสินค้าไปยังประเทศที่ มีมาตรการด้านความปลอดภัยที่เข้มงวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบาร์โค้ด GS1 DataBar สามารถระบุการใช้งานร่วมกับหมายเลข Application Identifiers (AIs) เช่น ข้อมูลวันที่ผลิต, วันที่หมดอายุ, น้ำหนัก เป็นต้น จากความสามารถดังกล่าวทำให้ GS1 DataBarเป็นบาร์โค้ดที่เหมาะสมกับการระบุสินค้าที่มีหน่วยการขายไม่คงที่ (Variable measure product) เช่น อาหารสด ผลไม้ หรืออาจใช้กับสินค้าที่มีขนาดเล็ก เช่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงสินค้าที่มีราคาแพง เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมยา อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง และอัญมณี เป็นต้น การ ใช้งานบาร์โค้ด GS1 DataBar นอกจากจะมีการใช้กับสินค้าปลีกแล้ว สามารถใช้กับสินค้าส่ง ณ จุดกระจายสินค้าได้อีกด้วย เนื่องจากโครงสร้างของ GS1 DataBar นั้นรองรับระบบ GTIN-14 ที่สามารถรวมอยู่ในสัญลักษณ์บาร์โค้ด GS1 DataBar จึงเป็นไปได้ว่าจะมีการใช้งาน DataBar เพื่อการกระจายสินค้าในอนาคต คณะกรรมการ GS1 Global ได้กำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นวันเริ่มต้นการใช้งาน GS1 DataBar อย่างเป็นทางการทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำ GS1 DataBar มาใช้ ณ จุด POS (Point-of-Sale) บ้างแล้ว โดยกำหนดให้ POS ทุกๆ จุดมีความพร้อมในการรองรับ GS1 DataBar ทั้งในส่วนของข้อมูลทางเทคนิค ขั้นตอนการระบุการใช้งาน Application Identifiers (AIs) และเครื่องมือที่ใช้สนับสนุนระบบการค้าปลีกทั้งหมด ประโยชน์ของ GS1 DataBar ที่มีต่อธุรกิจ 1. สามารถระบุความแตกต่างของสินค้าได้เป็นรายชิ้น 2. เพิ่มความแม่นยำในการบ่งชี้ตัวสินค้าที่มีปริมาณน้ำหนักที่ไม่แน่นอน 3. ลดกระบวนการควบคุมการทำงาน 4. เพิ่มความสามารถในการสืบย้อนกลับ 5. เพิ่มประสิทธิภาพในการเติมเต็มสินค้าในคลังสินค้า 6. จัดการในส่วนที่บาร์โค้ดในระบบเดิมไม่ครอบคลุม 7. ช่วยในการจัดการข้อมูลให้สะดวกขึ้น 8. สามารถใส่ราคาสินค้าได้มากกว่า 4 หลัก (ระบบเดิมระบุได้เพียง 99.99) 9. ช่วยจัดการข้อมูลเกี่ยวกับผู้จำหน่าย หรือวันที่หมดอายุ 10. ช่วยจัดการข้อมูลในส่วนของน้ำหนักสินค้า 11. เพิ่มความสามารถในการสแกนที่ใช้ร่วมกับสินค้าที่มีขนาดเล็ก 12. ทำให้ทราบถึง ECR (Efficient Consumer Response) 13. ตอบสนองความสามารถของผู้ซื้อสินค้าได้มากกว่าระบบบาร์โค้ด 14. ความสามารถในการควบคุมการลดราคาสินค้า 15. สามารถสืบย้อนกลับข้อมูลของประเทศผู้ผลิต 16. ความสามารถในการระงับการขายสินค้าที่หมดอายุ และการเรียกคืนสินค้า 17. เพิ่มความพอใจของลูกค้าที่สามารถสืบย้อนกลับข้อมูลของสินค้าได้ด้วยตนเอง ตัวอย่างสัญลักษณ์ GS1 DataBar ในรูปแบบต่างๆ 1. GS1 DataBar Stacked Omnidirectional เหมาะสำหรับการระบุสินค้าอาหารสด และสินค้าที่มีขนาดเล็ก สามารถบันทึกข้อมูลเลขหมาย GTIN เท่านั้น 2. GS1 DataBar Omnidirectional เหมาะสำหรับการระบุสินค้าที่มีขนาดเล็ก สามารถ 3. GS1 DataBar Expanded เหมาะสำหรับการระบุสินค้าที่มีปริมาตรน้ำหนักที่ไม่แน่นอน สามารถบันทึกข้อมูลเลขหมาย GTIN และรายละเอียดที่จำเป็นเพิ่มเติมได้ 4. GS1 DataBar Expanded Stacked เหมาะสำหรับการระบุสินค้าที่มีปริมาตรน้ำหนักที่ไม่แน่นอน สามารถบันทึกข้อมูลเลขหมาย GTIN และรายละเอียดที่จำเป็นเพิ่มเติมได้    
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร บาร์โค้ด แต่ละประเภท